โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 62 – อย่ากินมากเกินไป (1)

แล้ว วิธีที่เราจะรู้ว่าอาหารจริง คืออะไร? ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ "ถ้าผลิตภัณฑ์มีส่วนผสม (Ingredient) มากกว่า 5 อย่าง น่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกนำมาแปรรูป (Process) ค่อนข้างอย่างสูง (Ultra-high)" หรือถ้าย่า-ยาย (Grandma) ของเราไม่รู้มื้ออาหารว่าเป็น "อาหารจริง" หรือถ้ามันมาจากถุงพลาสติกหรือกล่องนั้น ผลิตภัณฑ์ที่มีโอกาสสูงว่าถูกแปรรูป

สรุปก็คือ เพียงแค่พยายามซื้ออาหารในรูปแบบธรรมชาติ (Natural form) มากขึ้น ไม่จำเป็นต้องทำทุกครั้ง ทุกมื้ออาหาร ตลอดเวลา แค่พยายามเปลี่ยนนิสัย (Habit) และสังเกต (Observe) ประเภทของอาหารที่คุณมักจะเก็บไว้ (Stock) ในตู้เย็น (Fridge) และตู้กับข้าว (Pantry)

ตามที่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้ว่า คนอเมริกันกำลังบริโภคพลังงาน [คิดหน่วยเป็นแคลอรี่] มากเกินไป ทำให้เกิดภาวะอ้วนเกิน (Obesity) และผลกระทบต่อสุขภาพ (Health consequence) คนอเมริกันโดยเฉลี่ย ได้บริโภคพลังงานมากขึ้นเกือบ 20% ในปี ค.ศ. 2000 เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 1983

ในมุมมองอื่นๆ นั้นก็คือ ชาวอมริกันโดยเฉลี่ย บริโภคพลังงานมากขึ้นเกือบ 300 กิโลแคลอรีต่อวันในปี ค.ศ. 2000 เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 1985 นั่นหมายถึงเกือบ 31 ปอนด์ (ประมาณ 14 กิโลกรัม) ของพลังงานเพิ่มขึ้นในปีเดียว

เช่นเดียวกับที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ เปอร์เซ็นต์ ของมื้ออาหารที่กินนอกบ้านเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า การบริโภคอาหารจานเร็ว (Fast food) ได้เพิ่มขึ้น และขนาดส่วน (Portion size) อาหารเพิ่มขึ้น 2 หรือ 3 เท่า แม้จะกินอาหารที่บ้าน ก็ยังเพิ่มขนาดส่วนอาหารไปด้วย เดี๋ยวนี้ขนาดจานอาหารมื้อเย็น (Dinner) โดยทั่วไปเพิ่มขึ้นมากกว่า 40% ทำให้ส่วนมากแล้ว มีการบริโภคพลังงานมากขึ้น

ปัญหาสมทบ (Compound)) ขึ้นไปอีก เมื่อการเพิ่มขึ้นเพลังงานดังกล่าว ไม่ได้มาจากแหล่งโภชนาการที่เข้มข้น (Nutrient-intense) และแหล่ง (Source) ที่ดีต่อสุขภาพมิได้เพิ่มปริมาณมากมาย (Drastic) จากผลไม้และผักที่เรากิน แต่เพิ่มขึ้นมาจากน้ำตาล, ไขมัน, และส่วนมากจากธัญพืชที่ขัดสีแล้ว (Refined) ผลลัพธ์ที่ตามมาคือการแพร่กระจาย (Epidemic) ของภาวะอ้วนเกิน (Obesity)

ตามที่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้ ไม่ต้องที่น่าสงสัยเลย (Unquestionably) ว่า ภาวะอ้วนเกิน มีผลทำลาย (Harmful) สุขภาพและเชื่อมโยงกับความเสี่ยง (Risk) ที่เพิ่มขึ้น (Elevated) ของหลายๆ ภาวะ (Condition) ทางสุขภาพ ซึ่งรวมถึง (Encompass) ความดันโลหิตสูง (Hyper-tension), ระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติ (Abnormal), และบาหวาน (Diabetes)

นอกจากนี้ ยังโรคหัวใจ, อัมพฤกษ์ (Stroke), โรคถุงน้ำดี (Gall-bladder), โรคข้อกระดูก (Osteo-arthritis), การหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnia), โรคตับอ้วน (Fatty liver), โรคตับแข็ง (Cirrhosis), ซึ่งจะนำมาสู่ภาวะซึมเศร้า (Depression), ภาวะโรคจิต (Mania), และความวิตกกังวล (Anxiety)

แหล่งข้อมูล – 

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.